aXnXXX
Home Home2 Home3 Home4 Home5 Home6 Home7 Home8
................................
................................
................................
................................
................................
................................
................................

รูปที่ 1 แสดง แผนที่ตำบลวิชิต หมู่ที่ 1 – 5 อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต



โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหลมชั่น



ประวัติความเป็นมาของรพ.สต.บ้านแหลมชั่น

ประวัติหน่วยบริการ

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรเงินงบประมาณ ในการก่อสร้างสถานีอนามัยบ้านแหลมชั่น ในปี พ.ศ. 2536 บริเวณสุสานเขาล้อม หมู่ที่ 1 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลวิชิต ในการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์

พ.ศ.2553 ยกระดับจากสถานีอนามัยบ้านแหลมชั่นเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหลมชั่น


เนื้อที่

รพ.สต.บ้านแหลมชั่น มีเนื้อที่ประมาณ 8,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 5 ไร่


ลักษณะภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ระหว่างทะเลกับภูเขา โดยมีพื้นที่ติดกับทะเล ใช้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่เนินเขา ใช้ทำการเกษตร พื้นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัย

ภูมิอากาศ อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มี 2 ฤดู คือ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน เมษายน ถึง เดือน พฤศจิกายน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึง เดือน มีนาคม


ที่ตั้งและอาณาเขต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหลมชั่น ตั้งอยู่ เลขที่ 103 / 3 ถนนพัฒนาท้องถิ่น หมู่ที่ 1 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รับผิดชอบพื้นที่ 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านนาบอนใต้ หมู่ที่ 2 บ้านแหลมชั่น หมู่ที่ 3 บ้านตีนเขา
หมู่ที่ 4 บ้านระเง็ง หมู่ที่ 5 บ้านชิดเชี่ยว

ชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

  • ชุมชนนาบอนใต้ (หมู่ที่ 1) ประธานชุมชน นายวิรัช ตันพงศ์พาณิชย์
  • ชุมชนเมืองทองสุขนิรันดร์ (หมู่ที่ 1) ประธานชุมชน นายอาทิตย์ จิตรมั่น
  • ชุมชนคลองเกาะผี (หมู่ที่ 1) ประธานชุมชน นายเสกสรร สุขนึก
  • ชุมชนธนิตธุรกิจรวมสิน (หมู่ที่ 1) ประธานชุมชน นายสมบูรณ์ ดำชุม
  • ชุมชนมะขามคู่ (หมู่ที่ 1) ประธานชุมชน นายวินัย สามสี
  • ชุมชนหมู่บ้านสะพานหิน (หมู่ที่ 1) ประธานชุมชน นางลัดดา อรุณพันธ์
  • ชุมชนบ้านแหลมชั่น (หมู่ที่ 2) ประธานชุมชน นายสุเทพ อเนกธรรมพินิจ
  • ชุมชนวิลล่า 3 (หมู่ที่ 2) ประธานชุมชน นายเอกณรงค์ เกิดทรัพย์
  • ชุมชนบ้านตีนเขา (หมู่ที่ 3) ประธานชุมชน นายอุดม นกศรีแก้ว
  • ชุมชนบ้านระแงง (หมู่ที่ 4) ประธานชุมชน นายชูศักดิ์ อายุพงศ์
  • ชุมชนบ้านชิดเชี่ยว (หมู่ที่ 5) ประธานชุมชน นายอนุชา เอกวานิช


มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลวิชิต และ ตำบลฉลอง
ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทือกเขานาคเกิด และ อำเภอกระทู้


การปกครอง

ตำบลวิชิต แบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 9 หมู่บ้าน รูปแบบการบริหารราชการเป็นเทศบาลตำบล มีเนื้อที่ทั้งหมด 54.6 ตารางกิโลเมตร


ประวัติความเป็นมาของหมู่ 1-5 ตำบลวิชิต

หมู่ที่ 1 บ้านนาบอนใต้

หมู่ที่ 1 ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก เดิมแนวเขตติดต่อกับวิทยาลัยอาชีวะภูเก็ต บริษัททุ่งคาฮาเบอร์ ดูได้จากแนวคลองเดิม ปัจจุบันเป็นโรงเรียน, สวนสาธารณะสะพานหิน, สถานีตำรวจน้ำ, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, ศาลเจ้า, สทร.3, วิทยาลัยสารพัดช่าง, โรงเผาขยะ และบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งในแนวเขตเกาะผี มีป่าช้าจีน เราเรียกว่า "เขาหล่ม" เนื้อที่ประมาณ 69 ไร่ ปัจจุบันได้แบ่งเนื้อที่ ทำประโยชน์อื่น ๆ ไปบ้างแล้ว เช่น สวนสุขภาพ, สถานีอนามัย, โรงเก็บรถเทศบาลตำบลวิชิต, มีวัดเก่าแก่ ชื่อ วัดต้นเนียง (หรือวัดต้นแซะ) ที่เผาศพยังมีหลักฐานอยู่ และได้ย้ายวัดต้นเนียงมาตั้งวัดใหม่ โดยหลวงพ่อหีด และตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดเทพนิมิต" (หรือวัดแหลมชั่น) และมีโรงเรียนในวัด ปัจจุบันแยกมาตั้งใหม่แต่ก็ยังใช้ชื่อเดิม (โรงเรียนวัดเทพนิมิตร) มีคลองประวัติศาสตร์ ชื่อว่า คลองสะพานฉ่ายตึ้ง ซึ่งน้ำจะไหลจากเขานาคเกิด มารวมกันเป็นสายใหญ่ไปจดคลองมุดง ซึ่งเป็นแหล่งหากินของชาวบ้าน กระทั่งปัจจุบันนี้ ก่อนเล่ากันมาว่าคลองนี้ใหญ่และลึกมาก มีเรือสำเภาของจีนบรรทุกสินค้ามาลง และมีศาลเจ้าเป็นที่พำนัก และนัดพบของคนจีนสมัยนั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังมีหลักฐานอยู่ (คือ คลองน้ำ) เลยไปเรียกว่า นาบอน ซึ่งคนจีนได้ปลูกบอนไว้มากเพื่อรับประทานและให้หมู จึงเรียกติดปากกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน ตระกูลที่ใหญ่มีหลายตระกูล เช่น แซ่ต๋าน เป็นต้น

หมู่ที่ 2 บ้านแหลมชั่น

หมู่ที่ 2 ซึ่งอยู่ตรงกลางถนนเจ้าฟ้าตะวันตกและตะวันออก หลังสวนหลวง ร.9 เดิมเป็นที่เรือขุดแร่เหมืองเก่าของบริษัทไทยประเสริฐ, สวนมะพร้าว, สวนยางพารา, นาข้าว จนถนนเทพอนุสรณ์กั้นกลาง มีศาลเจ้าถี่ก่งตั๋ว เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ 100 กว่าปี ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านจนกระทั่งปัจจุบัน ประวัติเดิม พ่อของอดีตกำนัน (กำนันสุชล เทพบุตร) ได้นำมาจากเมืองจีน เป็นชื่อของเทวดาองค์หนึ่ง และรูปเทพเจ้ากวนอู ปัจจุบันรูปเทพเจ้ากวนอูได้ไปอยู่ที่ศาลเจ้านาบอน (ตำบลฉลอง) ส่วนถี่ก่งตั๋ว ก็ได้จัดงานทุก ๆ ปี ของตรุษจีน วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ยังเป็นที่เคารพของชาวบ้านไม่เสื่อมคลาย อาชีพสมัยก่อนของคนพื้นที่ ผู้ชายก็ทำงานเหมืองแร่ และเกษตร ผู้หญิงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพร่อนแร่ ส่วนชาวบ้านสมัยก่อนเขาได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดมา ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านจัดสรรเกือบหมดแล้ว ฝ่ายตะวันตก เป็นสวนยางพารา สวนมะพร้าว และเหมืองแร่ มีศาลเจ้า เรียกว่า "จ้อซู่ก้ง" (ศาลเจ้านาคา) เก่าแก่ร้อยกว่าปีเช่นกัน ตระกูลที่ใหญ่ที่สุด คือ แซ่หลอ

หมู่ที่ 3 บ้านตีนเขา

หมู่ที่ 3 เรียกว่า "บ้านตีนเขา" เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถานที่ตั้งของหมู่ที่ 3 เป็นภูเขาล้อมรอบ มีภูเขาที่สำคัญ คือ เขานาคเกิด ซึ่งมีความเชื่อในสมัยโบราณว่า ณ ยอดเขาดังกล่าวเป็นที่อาศัยของ งูยักษ์ ที่คอยพิทักษ์รักษาต้นน้ำ บนภูเขา ถนนสายสำคัญของหมู่บ้าน คือ ถนนขวาง ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเจ้าฟ้าตะวันตกกับถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ลักษณะเป็นถนนเส้นตรงเกิดขึ้นในอดีตเป็นเส้นทางเกวียนเล็กๆ ที่ใช้คมนาคม เมื่ออดีตที่ผ่านมา เจ้าคุณรัษฎา หรือคอซิมบี้ ณ ระนอง เดินทางผ่านมา และได้เกณฑ์ไพร่พลชาวบ้านมาช่วยกันทำเป็นถนนใช้สัญจรได้สะดวกมากขึ้น

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเปลี่ยนไป หมู่ที่ 3 มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ หมู่บ้านธินวุฒิ 2, ธินวุฒิ 3, ติวราธานี, จอมทอง-มณีคราม, ปรางทอง และภูเก็ตวิลล่าแคลิฟอร์เนียร์ ประชาชนมีอาชีพหลากหลาย อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือศาสนาอิสลาม และคริสต์ ตามลำดับ มีร้านค้าของที่ระลึกที่สำคัญของจังหวัด เช่น ผ้าบาติก, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ร้านจิวเวอร์รี่ และไข่มุก

หมู่ที่ 4 บ้านระแงง

หมู่ที่ 4 ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้าตะวันตก อยู่ระหว่างหมู่ที่ 5 กับหมู่ที่ 2 ด้านหนึ่งติดกับเทศบาลนครภูเก็ต ส่วนอีกด้านติดกับภูเขา เรียกว่า "เขาค้อ" (เขานาคเกิดในปัจจุบัน) ส่วนกลางของหมู่บ้านเรียกว่า "นาคา" เพราะมีหญ้าคาเยอะมาก มีการทำเหมืองแร่เกือบเต็มพื้นที่ และมีไฟฟ้าใช้ในการทำเหมืองแห่งแรกของภูเก็ต ชื่อเดิม เรียกว่า "เหมืองแร่จิ้นหงวน" (เหมืองนาคา) ใหญ่ระดับประเทศ ต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงประภาสจังหวัดภูเก็ต (เมืองทุ่งคา) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เหมืองเจ้าฟ้า (เหมืองแร่อนุภาษและบุตร) และบริเวณหน้าเหมืองเจ้าฟ้ามีหนังกลางแปลง (หนังขายยา) มาฉายทุก ๆ วันอาทิตย์และช่วงไหว้ครูของผู้ประทับทรงจะมีมหรสพแสดงเป็นแรมเดือน และที่เรียกว่า "บ้านระเเงง" เล่าต่อกันมาว่า เดิมมีสายน้ำ 5 สายไหลมารวมกันเป็นคลองใหญ่ บริเวณโรงเรียนวิชิตสงคราม เรียกว่า คลองต้นโหนด ปัจจุบันเหลือเล็กแล้ว น้ำทั้งหมดจะไหลลงสวนหลวง ร.9 บ้านระเเงง มีสถานศึกษา 1 แห่ง เดิมอยู่ข้างสนามสุระกุล มีวัด 1 แห่ง เรียกว่า "วัดสำนัก" (วัดนาคาราม) ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำแร่, สวนยางพารา, เลี้ยงสัตว์, มีชาวฮินดูเข้ามาอาศัยอยู่ 2 กลุ่ม ประกอบอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงแพะเพื่อขายนม มีตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ตระกูลแรก คือ ตระกูล แซ่อ๋อง

หมู่ที่ 5 บ้านชิดเชี่ยว

หมู่ที่ 5 ตั้งอยู่ติดกับเขตเทศบาล มีสนามสุระกุล สมัยก่อนเป็นป่าช้า ต่อกับโรงเรียนวิชิต ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ต่อมา นายอ้วน สุระกุล มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และได้เปลี่ยนป่าช้าติดถนนใหญ่ให้เป็นสนามสุระกุล เป็นสนามกีฬาประจำจังหวัด มีตระกูล เอกวานิช เป็นที่รู้จักของชาวบ้านและเป็นตระกูลที่มีคุณธรรม และมีบ้านที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่ง เป็นบ้านโบราณตั้งอยู่บนยอดเขา และมีบริเวณ คือ ประตูหินที่ใหญ่ที่สุดที่จะหาได้ในสมัยนั้น มีสวนยาง พารารั้วรอบบ้าน มีโรงน้ำแข็ง และเหมืองแร่เก่า มีศาลเจ้าชิดเชี่ยว เป็นศาลเจ้าโบราณอายุร่วมร้อยปี เป็นที่เคารพของชาวบ้าน ใครป่วยไข้ก็มาขอตั๋วออกยา สมัยก่อนช่วงเทศกาลกินผัก(เทศกาลกินเจ) เวลาขบวนแห่องค์กิ้วอ๋องมาจากกระทู้ถึงหน้าศาลเจ้า หากไม่โบกธงใหญ่โบกสบัด ขบวนก็จะหมุนอยู่ที่นั้น ส่วนใหญ่จะเดินสนุกมาก ส่วนเขตที่ท่อน้ำต่อเขตอำเภอกะทู้มีโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง โรงพยาบาลสิริโรจน์ มีถนน 200 ปี (บายพาส) ตัดผ่ากลาง เชื่อมถนนเจ้าฟ้า หมู่ 4 ตรงหน้าไทนาน โรงเรียนดาราสมุทร อดีตมีหนังตะลุงชื่อดัง คือ หนังสิริไกรเลิศ เป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย พ่อของผู้ใหญ่พันลึก ไกรเลิศ

(แหล่งข้อมูล : คุณสุวัฒน์ เทพบุตร และคุณประสิทธิ์ ศิริวัฒนวิจิตร (สารวัตรกำนันตำบลวิชิต) )
(ผู้เรียบเรียง : สมาชิกเทศบาลตำบลวิชิต)


ประชากร

จำนวนประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งหมด 33,217 คน ชาย 15,419 คน หญิง 17,798 คน จำนวนหลังคาเรือน 9,874 หลังคาเรือน (ข้อมูลจาก : โปรแกรมJHCIS รพ.สต.บ้านแหลมชั่น ตัดยอด วันที่ 15 กันยายน 2556)

ตาราง 1 แสดงจำนวนประชากร และการปกครองจำแนกรายหมู่บ้าน



รูปที่ 2 แสดงแผนภูมิแสดงพีรามิดประชากร จำแนกตามกลุ่มอายุ และเพศ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ


ที่มา : ข้อมูลจากโปรแกรม JHCIS (15 กันยายน 2556)



ศาสนา

ประชาชน - ร้อยละ 98.80 นับถือศาสนาพุทธ
- ร้อยละ 1.05 นับถือศาสนาอิสลาม
- ร้อยละ 0.15 นับถือศาสนาอื่น ๆ
ศาสนสถาน วัด - จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย วัดเทพนิมิตร และวัดนาคา
ศาลเจ้า - จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ศาลเจ้าชิดเชี่ยว, ศาลเจ้านาคา และศาลเจ้าถี่ถ่องตั๋ว


อาชีพและเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต มีการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง, ค้าขาย, เกษตรกรรม และธุรกิจการท่องเที่ยว


การศึกษา

1) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเทพนิมิตร (ประถม – มัธยมตอนต้น)
  • โรงเรียนวิชิตสงคราม (ประถม – มัธยมตอนต้น)
  • โรงเรียนอบจ.บ้านนาบอน

2) โรงเรียนมัธยมศึกษา

  • โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ภูเก็ต

3) โรงเรียนภาคเอกชน

  • โรงเรียนดาราสมุทร
  • โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา

4) ห้องสมุดประชาชน เทศบาลตำบลวิชิต


การคมนาคม

มีถนนสายหลักตัดผ่าน จำนวน 3 สาย

  1. ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดเวลา ประกอบด้วย สายห้าแยก สายราไวย์ และสายฉลอง
  2. ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดเวลา ประกอบด้วย สายฉลอง
  3. ถนนศักดิเดช มีรถประจำทางวิ่งผ่านในช่วงเวลากลางวัน ประกอบด้วย สายอ่าวมะขาม /แหลมพันวา


สถานที่ราชการ / รัฐวิสาหกิจ
  • เทศบาลตำบลวิชิต
  • โรงเรียนวัดเทพนิมิตร
  • โรงเรียนอบจ.บ้านนาบอน
  • โรงเรียนวิชิตสงคราม
  • โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ภูเก็ต

การรวมกลุ่มของชุมชน
1) กลุ่มอาชีพ 2 กลุ่ม
2) กลุ่มออมทรัพย์ 2 กลุ่ม
3) กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 5 กลุ่ม
4) ชมรมผู้สูงอายุ 1 กลุ่ม ( ชมรมผู้สูงอายุตำบล )
5) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข 1 กลุ่ม
6) ชมรมออกกำลังกาย 5 กลุ่ม


บุคลากรในหน่วยงาน

1.15.1 ทำเนียบเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหลมชั่น

นางยุพา สุขวัฒนวิจิตร เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส ปี 2537 - ปัจจุบัน
นายณัฐพันธ์ วิเชียรวรรธนะ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน ปี 2546 - ปัจจุบัน
นางรัชนี มุขทอง ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ปี 2549 - ปัจจุบัน
นางสาวชลิศา กรณีย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน ปี 2549 - ปัจจุบัน
นางสาวศุภนา ก้อนแก้ว นักการแพทย์แผนไทย ปี 2554 - ปัจจุบัน
นายสันติสุข สาบุตร เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ปี 2554 - ปัจจุบัน
นางสาววราภรณ์ พรหมพันธ์ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ปี 2554 - ปัจจุบัน
นางผุดพรรณ ผัดไสว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี 2554 - ปัจจุบัน
นางจุฬาลักษณ์ ตันกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ปี 2554 - ปัจจุบัน
นายชาตรี บุญทวี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ปี 2556 - ปัจจุบัน
นายเอกชัย เสียงล้ำ นักวิชาการสาธารณสุข ปี 2556 - ปัจจุบัน


โครงสร้าง/สายการบังคับบัญชา




บุคลากรด้านสาธารณสุขช่วยปฏิบัติงาน

ทีมแพทย์ พยาบาล ที่มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหลมชั่น
การให้บริการทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.00 – 20.00


รูปที่ 5 แสดงบุคลากรด้านสาธารณสุขช่วยปฏิบัติงาน



จำนวนบุคลากรสาธารณสุข

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และลักษณะการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน



หมายเหตุ ประจำ หมายถึง การให้บริการไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง
ต่อเนื่อง หมายถึง การให้บริการไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง
ครั้งคราว หมายถึง การให้บริการไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง


วิสัยทัศน์ (VISION)

มุ่งสู่องค์กรที่ได้มาตรฐาน พัฒนาวิชาการ เน้นบริการเชิงรุก สู่สุขภาวะที่ยั่งยืน


พันธกิจ(MISSION)

  1. พัฒนาคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐาน
  2. สนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการของบุคลากรในหน่วยงานทุกระดับ
  3. ส่งเสริมและขยายการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการสร้างเสริมสุขภาวะที่ยั่งยืน

เป้าหมายการให้บริการ

  1. พัฒนาบุคลากร
  2. ส่งเสริมกระบวนการ การมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยในชุมชน
  4. ใช้จ่ายงบประมาณ และทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยยึด หลักความพอเพียง
  5. พัฒนาคุณภาพบริการ

SWOT Analysis และยุทธศาสตร์หน่วยงาน

ตารางที่ 11 แสดงการวิเคราะห์ SWOT Analysis



กลยุทธ์ S-O strategies เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเข้าไปฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

  1. ประสานงานส่วนท้องถิ่นในการของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุข เช่น ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข
  2. สร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชน และเครือข่ายสุขภาพของหน่วยงานท้องถิ่น


กลยุทธ์ W-O strategies เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนขององค์กร และพยายามฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

  1. พัฒนาระบบสารสนเทศในการเก็บข้อมูลต่างๆและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานด้านเทคโนโลยี เช่น ความรวดเร็วของโปรแกรม HCIS JHCIS
  2. เป็นแหล่งความรู้และฝึกประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาฝึกงานเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากร
  3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในสถานีอนามัยให้ดีขึ้น เช่น ระบบการนัดรับวัคซีนในคลินิกWBC คลินิกฝากครรภ์ ระบบการบริการรักษา
  4. พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลการดำเนินงาน


กลยุทธ์ S-T strategies เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการลบล้างอุปสรรคจากสภาวะแวดล้อมภายนอก

  1. ให้ทีมแพทย์และพยาบาลนอกเวลาช่วยในเรื่องการบริการรักษาพยาบาล เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
  2. ใช้เครือข่ายชุมชนและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการรณรงค์ให้ประชาชนสนใจในเรื่องสุขภาพอนามัย


กลยุทธ์ W-T strategies เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนขององค์กร เพื่อลบล้างอุปสรรค

  1. ปรับปรุงสภาพอากาศของรพ.สต.
  2. ปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบสารสนเทศภายในสถานีอนามัยให้รองรับกับการบริการประชาชนที่มีจำนวนมาก
  3. ทำความเข้าใจกับส่วนท้องถิ่นในเรื่องบทบาทหน้าที่ ที่แท้จริงของสถานีอนามัย ในด้านการให้บริการเชิงรุก
  4. ทำความเข้าใจกับประชาชนที่มารับบริการในเรื่องข้อจำกัดของจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการซึ่งมีผลต่อระยะเวลาในการให้บริการ


ตารางที่ 12 แสดงการวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS สู่ยุทธศาสตร์



แผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายการดำเนินงาน

เป็นแผนปฏิบัติการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามสภาพปัญหาของพื้นที่ ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากชุมชน องค์กรในชุมชน เพื่อสนองตอบต่อปัญหาของพื้นที่อย่างแท้จริง และตอบสนองต่อนโยบายในระดับจังหวัด และประเทศ โดยมีแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 4 ด้าน ดังนี้


ยุทธศาสตร์การดำเนินงานในองค์กร

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเครือข่ายสุขภาพ องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน มุ่งสู่ชุมชนสุขภาพดี


ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศ และสภาพแวดล้อม ในหน่วยงานให้เอื้อต่อการบริการที่ได้มาตรฐาน


ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดระบบการบริการรักษาพยาบาล ให้สอดคล้องกับทีมแพทย์และพยาบาลนอกเวลา


ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานสาธารณสุข







login-phuket-healthy
Name :

Password :






หน้าหลัก  |    ผู้บริหารและวิสัยทัศน์   |   นโยบาย  |    ข้อมูลทั่วไป  |    หนังสือราชการ   |   ข่าวหน่วยงาน   |   ข่าวประชาสัมพันธ์   |   ปฎิทินกิจกรรม  |   ติดต่อเรา