สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอเมืองภูเก็ต
|
สภาพทั่วไป |
ที่ตั้งและการปกครอง
จังหวัดภูเก็ตประกอบด้วยเกาะภูเก็ต และเกาะน้อยใหญ่ อีก 39 เกาะ เกาะภูเก็ตเป็นเกาะใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ส่วนที่ยาวที่สุดประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนที่กว้างที่สุด 21.3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 538.72 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 336,875 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ตมีพื้นที่ทั้งหมด 224 ตารางกิโลเมตร มีการแบ่งเขตปกครองออกเป็น 8 ตำบล 43 หมู่บ้าน |
แผนที่อำเภอเมืองภูเก็ต |
 |
Map of Mueang Phuket district, Phuket province, Thailand, with the communes (tambon) numbered.
- Talat Yai (ตลาดใหญ่)
- Talat Nuea (ตลาดเหนือ)
- Ko Kaeo (เกาะแก้ว)
- Ratsada (รัษฎา)
- Wichit (วิชิต)
- Chalong (ฉลอง)
- Ra Wai (ราไวย์)
- Ka Ron (กะรน)
|
อำเภอเมืองภูเก็ต เป็นหนึ่งในสามอำเภอและอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ติดต่อทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียห่างโดยทางบกห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 867 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 สายเพชรเกษม และทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ สายโคกกลอย - ภูเก็ต ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ
12 –14 ชั่วโมง ทางอากาศ ประมาณ 688 กิโลเมตร ใช้เวลาบิน 1 ชั่วโมง 10 นาที พื้นที่ทั้งภูเก็ตประกอบด้วยที่ราบสูงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเล มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | อำเภอถลาง |
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | ทะเลอันดามัน |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | อ่าวพังงา |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | ทะเลอันดามันและอำเภอกะทู้ |
|
ภูมิประเทศ
พื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ตมีพื้นที่เป็นภูเขา มีลักษณะซับซ้อนตลอกแนวจากทิศเหนือถึงทิศใต้เทือกเขานี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี มียอดเขาไม้เท้าสิบสอง ยอดเขานาคเกิด มีที่ราบอยู่ทางตอนกลางและตะวันออกของเกาะ ลักษณะพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นที่ราบสูง พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเป็นป่าชายเลน พื้นที่ฝั่งตะวันตกเป็นภูเขา และหาดทรายที่สวยงาม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด
|
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศเป็นแบบเขตศูนย์สูตร อยู่ในเขตอิทธิพลลมมรสุม อากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน โดยฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในเขตอิทธิพลลมมรสุม มีฝนตกชุกมาก และอากาศชุมชื่นตลอดปี ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม – พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตกน้อย
|
สภาพเศรษฐกิจและสังคม
โดยภาพรวมการประกอบอาชีพของประชากรเขตอำเภอเมือง ได้แก่
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้เแก่ โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ร้านค้าขายของที่ระลึก เป็นต้น
- เกษตรกรรม เกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่ การปลูกยางพารา มะพร้าว สับปะรด การประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมด้านการประมง
|
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน |
โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป
- การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ได้สะดวกทั้ง
3 ทาง ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง มีเส้นทางคมนาคม เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบลทุกตำบลยกเว้น ในหมู่ที่ 6 บ้านเกาะมะพร้าว และหมู่ที่ 3 บ้านเกาะโหลนต้องเดินทางทางน้ำใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที การสื่อสารทุกแห่งสามารถสื่อสารทางโทรศัพท์
- การไฟฟ้า การบริการไฟฟ้าในอำเภอเมืองภูเก็ต ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จากแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ จากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนชุมชนชนบทที่ที่ตั้ง
อยู่บนเกาะบริวาร 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านเกาะมะพร้าว ตำบลเกาะแก้ว และหมู่ที่ 3 บ้านเกาะโหลน ตำบลราไวย์ บริการไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องปั่นไฟฟ้า
- การประปา อำเภอเมืองภูเก็ตมีการใช้น้ำจากการประปาภูมิภาค และน้ำจากบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาลในหมู่บ้าน
|
โครงสร้างทางสังคม
- การศาสนา ประชาชนร้อยละ 78 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมานับถือศาสนาอิสลาม
- ศาสนสถาน
จำนวนวัด | 14 | แห่ง | จำนวนโบสถ์คาทอริก | 3 | แห่ง |
จำนวนสำนักสงฆ์ | 4 | แห่ง | จำนวนโบสถ์พราหมณ์ | 1 | แห่ง |
จำนวนมัสยิด | 12 | แห่ง | จำนวนวัดฮินดู | 1 | แห่ง |
จำนวนวัดซิกซ์ | 1 | แห่ง | ศาลเจ้า | 14 | แห่ง |
- การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานประถมศึกษา | จำนวน | 21 | โรงเรียน |
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการเอกชน | จำนวน | 9 | โรงเรียน |
โรงเรียนสังกัดกรมสามัญ | จำนวน | 3 | โรงเรียน |
นักเรียนก่อนประถมศึกษา | จำนวน | 6,726 | คน |
นักเรียนประถมศึกษา | จำนวน | 21,991 | คน |
นักเรียนมัธยมศึกษา | จำนวน | 17,116 | คน |
แหล่งที่มา : http://www.pkt.obec.go.th/10Jun/data.html ข้อมูล ณ 13 มกราคม 2557 |
|
โครงสร้างทรัพยากรสาธารณสุข
ภาครัฐ |
โรงพยาบาลภาครัฐ | จำนวน | 1 | แห่ง | 503 | เตียง |
โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต | จำนวน | 1 | แห่ง | 190 | เตียง |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | จำนวน | 9 | แห่ง
|
ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) | จำนวน | 2 | แห่ง
|
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง | จำนวน | 2 | แห่ง
|
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล | จำนวน | 5 | แห่ง
|
ภาคเอกชน |
โรงพยาบาลเอกชน | จำนวน | 3 | แห่ง | 401 | เตียง |
คลินิกเอกชน |
คลินิกกายภาพบำบัด | จำนวน |
4 | แห่ง |
คลินิกแพทย์ | จำนวน | 114 | แห่ง |
คลินิกทันตกรรมชั้น 1 | จำนวน |
54 | แห่ง |
คลินิกทันตกรรมชั้น 2 | จำนวน | 1 | แห่ง |
คลินิกการแพทย์แผนไทย | จำนวน |
5 | แห่ง |
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน | จำนวน |
204 | แห่ง |
ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ | จำนวน |
7 | แห่ง |
ร้านขายยาแผนโบราณ | จำนวน |
14 | แห่ง |
สหคลินิก | จำนวน | 2 | แห่ง |
คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง | จำนวน | 2 | แห่ง |
แหล่งที่มา : กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข, สสจ.ภูเก็ต ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 55 |
|
ตาราง 1 เขตการปกครองและสถานบริการสาธารณสุขที่รับผิดชอบ
|
|
|
ตาราง 2 อัตรากำลังบุคลากรสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
|

* ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ณ วันที่ 13 มกราคม 2557
|
|
ตาราง 3 สัดส่วนบุคลากรสาธารณสุขต่อประชากรอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
|

|
|
โครงสร้างด้านการปกครอง
อำเภอเมืองภูเก็ต แบ่งการปกครองเป็น 3 แบบการปกครอง
- การปกครองแบบเทศบาลนครเมืองภูเก็ต 2 ตำบล
ตำบลตลาดใหญ่ จำนวนประชากร 53,928 คน
ตำบลตลาดเหนือ จำนวนประชากร 23,110 คน
-
การปกครองแบบเทศบาลตำบล 4 ตำบล
ตำบลกะรน จำนวนประชากร 8,156 คน
ตำบลรัษฎา จำนวนประชากร 44,863 คน
ตำบลวิชิต จำนวนประชากร 45,177 คน
ตำบลราไวย์ จำนวนประชากร 16,493 คน
- การปกครองแบบองค์การบริหารส่วนตำบล 2 ตำบล
ตำบลเกาะแก้ว จำนวนประชากร 12,074 คน
ตำบลฉลอง จำนวนประชากร 22,454 คน
|
|
โครงสร้างประชากร
อำเภอเมืองภูเก็ตมีจำนวนประชากร 226,255 คน จำนวนหลังคาเรือน 116,391 หลังคาเรือน
|
|
รูป 1 โครงสร้างประชากรอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ 2557
|

แหล่งที่มา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ณ วันที่ ณ 1 ก.ค. 2556
(http://www.pkto.m0ph.go.th/)
|
|
ตาราง 4 จำนวนประชากรในเขตอำเภอเมืองภูเก็ตจำแนกรายตำบล ปี 2557
|
ที่มา : ประชากรจังหวัดภูเก็ต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ณ 1 ก.ค. 2556
|
|
ตาราง 5 จำนวนประชากรและหลังคาเรือนในเขตอำเภอเมืองจำแนกรายตำบล ปี 2553 – 2556
|
|
ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ |
สถานการณ์เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พบโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรกที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด ได้แก่ อุจจาระร่วง ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ สุกใส ปอดบวม ไข้ไม่ทราบสาเหตุ วัณโรคปอด ตาแดง งูสวัด และอาหารเป็นพิษ ตามลำดับ
|
|
ตาราง 6 จำนวน และอัตราป่วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาด 10 อันดับแรก ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเมือง สะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 18 พฤศจิกายน 2556 (อัตราป่วยต่อแสนประชากร)
|

ที่มา : รง.506 และรง.507 ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเมืองโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (ข้อมูลวันที่ 1 ม.ค. – 18 พฤศจิกายน 2556)
* วัณโรคปอด ใช้ข้อมูลจากทะเบียนวัณโรค สสอ.เมืองภูเก็ต ณ 30 ตุลาคม 2556
|
|
ตาราง 6 (ต่อ) จำนวน และอัตราป่วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาด 10 อันดับแรก ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเมือง สะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 18 พฤศจิกายน 2556 (อัตราป่วยต่อแสนประชากร)
|

ที่มา : รง.506 และรง.507 ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเมืองโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (ข้อมูลวันที่ 1 ม.ค. – 18 พฤศจิกายน 2556)
* วัณโรคปอด ใช้ข้อมูลจากทะเบียนวัณโรค สสอ.เมืองภูเก็ต ณ 30 ตุลาคม 2556 |
|
ตาราง 7 อัตราป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2552 – 2556
|

|
|